Fingerprint
ท่านผู้อ่านเคยสงสัยบ้างไหมครับว่า เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่า ความสามารถของเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องมีประสิทธิภาพในการพิมพ์งาน หรือรองรับงานพิมพ์ประเภทต่างๆได้มากแค่ไหน และงานลักษณะแบบใดที่ไม่สามารถรองรับได้
บ่อยครั้งที่ลูกค้าและโรงพิมพ์ไม่เข้าใจว่า งานพิมพ์แต่ละงาน นั้น มีข้อจำกัดอยู่ในตัวของแบบพิมพ์ กระบวนการพิมพ์ และเครื่องพิมพ์เองด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าเราสามารถรู้ได้ว่าเครื่องพิมพ์ ของเรามีความสามารถ ในการพิมพ์งานได้มากแค่ไหน ก็จะทำให้เรารู้ได้ว่า เราควรจะรับงานประเภทไหน และจะต้องปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพงานพิมพ์ในส่วนใดบ้าง Fingerprint คือเครื่องมือที่ใช้บอกรูปแบบลักษณะ เฉพาะของความสามารถ ของเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่อง โดยงานพิมพ์ที่ได้จาก Fingerprint จะบอกได้ถึง
1. ความสามารถในการพิมพ์พื้นตาย
2. % การเกิดเม็ดสกรีนบวม
3. ความสามารถในการพิมพ์ซ้อนทับของสี
4. สมดุลสีเทา
5. ค่าความผิดพลาดหรือเพี้ยนไปของสี
6. ความสามารถในการเก็บรายละเอียดของตัวหนังสือ และเส้น
7. % การยืดหดของงานพิมพ์
8. อื่นๆ

Capped Plate
เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแม่พิมพ์ Liquid Photopolymer ให้สามารถพิมพ์ภาพได้ใกล้เคียงงานพิมพ์ ในอุดมคติมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในกระบวนการผลิตสามารถสร้างแม่พิมพ์ ให้มีความแข็งแตกต่างกันในชิ้นงานเดียวกัน ทำให้การพิมพ์ กรณีทีมีตัวหนังสือตัวเล็กๆ หรือเม็ดสกรีนอยู่คู่กับงานพิมพ์ ที่เป็นพื้นตาย หรือตัวหนังสือตัวใหญ่ เป็นเรื่องง่ายขึ้น สำหรับช่างพิมพ์ เนื่องจาก Capped Resin จะทำให้ส่วนปลายด้านบนของเม็ดสกรีนหรือตัวอักษร ที่เคลือบด้วย Capped Resin เท่านั้น ที่แข็งขึ้นแต่เนื้อยางยังมีคุณสมบัติเหมือนเดิม จึงเกิดการ ยืดหยุ่น ทำให้ช่วยลดการเกิดลอนกระดาษที่จะเกิดขึ้นในภาพพิมพ์

Island Image / Imposition Plate
Island Image / Imposition Plate คือ เทคโนโลยีเฉพาะของแม่พิมพ์ พี-เพล็กซ์ ลิควิด โฟโต้โพลิเมอร์ เกิดจากการพัฒนาการผลิตแม่พิมพ์ โดยลดปริมาณการใช้วัตถุดิบในส่วนที่เป็นพื้น และส่วนที่ไม่ใช้ภาพพิมพ์ออกไปให้มากที่สุด (อาจสามารถเก็บคืนวัตถุดิบได้สูงสุดถึง 50% ของปริมาณแม่พิมพ์ทั้งหมด) แม่พิมพ์ที่ได้จึงมีสักษณะคล้ายกับเกาะ หรือที่เรียกกันว่า Island Image Plate ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวยังได้รับการพัฒนาขึ้นอีกระดับ เพื่อการผลิตแม่พิมพ์ทั้งชุด โดยไม่ต้องจัดวางโครงสร้างรูปกล่อง (Mounting) ภายหลัง ทำได้โดยปรับขั้นตอนการจัดวางตำแหน่งบนโครงสร้างรูปกล่อง ให้อยู่บนคอมพิวเตอร์ หรือ ขั้นตอนการออกแบบก่อนผลิตฟิล์มเนกาทีฟแทน จึงทำให้สะดวก และจัดวางตำแหน่งได้ง่ายกว่าการวางบนโครงสร้างรูปกล่อง (Mounting) ที่ทำกันทั่วไป นอกจากนั้นยังนำเป็นพลาสติกชนิดพิเศษมาใช้แทนพลาสติกปกติ เพื่อเป็นฐานของแม่พิมพ์ ภายหลังการผลิตแม่พิมพ์จึงสามารถนำแม่พิมพ์ไปติดบนแท่นฟิล์มได้ทันที ไม่เสียเวลาในการเตรียมวางตำแหน่งอีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา สามารถถม้วนเก็บได้ง่ายเพราะไม่มีส่วนเนื้อโพลิเมอร์ที่ไม่ต้องการเกินออกมา

Pressure Gauge
Pressure Gauge คือ เทคโนโลยีเฉพาะอีกแบบหนึ่งของ แม่พิมพ์ พี-เฟล็กซ์ ลิควิด โฟโต้โพลิเมอร์ เนื่องจากสามารถกำหนดความหนาของแม่พิมพ์ได้หลายขนาดตามที่ต้องการ จึงมีการนำคุณสมบัติดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เป็น เครื่องมือสำหรับวัดระดับแรงกด หรือนำไปใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับลูกกลิ้ง หรือโมล์พิมพ์ โดยมีลักษณะเป็นแม่พิมพ์ พี-เฟล็กซ์ โฟโต้โพลิเมอร์ ที่มีระดับความหนาต่างกันในแม่พิมพ์ชิ้นเดียว ซึ่งระดับจะลดหลั่นกันไปในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้ระดับที่หนาที่สุดจะเท่ากับแรงกดพิมพ์ปกติทั่วไป ส่วนระดับที่ลดหลั่นลงไปหมายถึงแรงกดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปรากฏให้เห็นเมื่อนำไปติดคู่กับแม่พิมพ์ที่เป็นงานพิมพ์จริง หากมีการออกแรงกดมากไปก็สามารถสังเกตได้ทันทีจากภาพพิมพ์ที่ระดับต่างๆ มีประโยชน์กับช่างพิมพ์ในการติดตั้งและเตรียมงานพิมพ์ ให้มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

www.p-flex.com. All Rights Reserved.
30/75 Moo 1 Sinsakhon Printing City & Industrial Estate Thailand, Chetsadawithi Road, Khok Kham, Muang, Samutsakhon 74000 Thailand.
Tel: 0-3445-2365-67, 0-2789-5595 Fax: 0-3445-2368-71 Email: fg1@p-flex.com